วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เลียงผา


        
                    เลียงผา
ลักษณะทั่วไป
เลียงผาเป็นสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ในวงศ์มหิงสา (Bovidae) เช่นเดียวกับวัว ควาย แพะ แกะ อยู่ในวงศ์ย่อยแพะแกะ (Caprinae) เลียงผาเป็นสัตว์โบราณที่สุดของวงศ์ย่อยแพะแกะ (Geist, 1985) จึงมีปัญหาในการจำแนกว่าจะอยู่ในสกุลใดระหว่าง Capricornis และ Nemaorhaeaedus ดังนั้นจึงพบว่าเลียงผามีชื่อวิทยาศาสตร์ทั้ง Capricornis sumatraensis ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ใช้ชื่อวิทยศาสตร์ Capricornis sumatraensis

โดยชื่อสกุลเกิดจากการนำคำลาตินและกรีก 2 คำมารวมกันคือคำว่า Capri มาจากคำภาษาลาติน Caprea แปลว่า แพะ (Giats) ส่วนคำว่า Cornis เป็นภาษากรีก แปลว่าเขา (Horn) ดังนั้น คำว่า Capricornis จึงแปลว่า สัตว์ที่มีเขาอย่างแพะส่วนชื่อชนิดเกิดจากการนำคำลาติน 2 คำมารวมกันคือคำว่า Sumatra และ ensis คำว่า Sumatra หมายถึง เกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย ส่วนคำว่า ensis หมายถึงสถานที่ (Locality) ดังนั้นชื่อวิทยาศาสตร์ของเลียงผาคือ Capricornis sumatraensis จึงหมายถึง สัตว์มีเขาอย่างแพะแห่งเกาะสุมาตราสำหรับชื่อวิทยาศาสตร์อีกชื่อหนึ่งคือ Nemaorhaeaedus sumatraensis มีความหมายว่าแพะหนุ่มแห่งพงไพรของเกาะสุมาตราเนื่องจากคำว่า Nemor มาจากคำว่า Nemoris ในภาษาลาติน แปลว่า ป่า (Grave, Forest) และ Haedus มาจากภาษาลาตินแปลว่าแพะหนุ่ม (Young Goats) เลียงผามีชื่อสามัญว่า Serow มาจากคำว่า Saro ในภาษาของชาว Lepcha ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เล็ก ๆ อาศัยอยู่ในสิกขิม
เลียงผาเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวหว่า มีลำตัวสั้นแต่ขอยาว (วิชาญและสวัสดิ์,2539) ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี อาจยาวสุดเพียง 32 เซนติเมตร เส้นรอบวงโคนเขาประมาณ 15 เซนติเมตร ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวมีสีดำ แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะมีสีขาวแซม ขนขามีทั้งที่เป็นสีดำและสีแดงขึ้นอยู่กับสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย เลียงผาที่อยู่ใต้คอคอดกระจะมีขนขาสีดำ ในขณะที่เลียงผาที่อยู่เหนือคอคอดกระจะมีขนสีแดง (สืบ, 2531) เลียงผามีขนที่ปากและใต้คาง สีขาว มีขนแผงคอที่ยาวและแข็งพาดผ่านจากหัวไปถึงโคนหาง แต่จะเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่หัวถึงกลางหลัง มีต่อมกลิ่นใต้ดวงตา ใช้ถูตามก้อนหินหรือโคนต้นไม้เพื่อการหมายอาณาเขตครอบครอง
การแพร่กระจาย
              
        ลียงผามีการแพร่กระจายตั้งแต่ตอนเหนือของอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (Lekagul and McNeely, 1977) ในประเทศไทยประชากรกระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามป่าตั้งแต่เหนือจรดใต้และตะวันออกจรดตะวันตก โดยเฉพาะตามเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาเพชรบูรณ์และภูเขาทั่วไปในบริเวณภาคใต้รวมทั้งบนเกาะในทะเลที่อยู่ ไม่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากนัก ในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์ย่อย คือ C. s. maritimus พบเหนือคอคอดกระขึ้นไป และ C. s. sumatraensis พบตั้งแต่ใต้คอคอดกระลงไปจนถึงประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ เลียงผายังมีชนิดย่อยอีก 3 สายพันธุ์ย่อยคือ C. s. tahr พบในพื้นที่ตอนบนของอินเดีย สายพันธุ์ย่อย C. s. rubidus mพบในบังคลาเทศ และสายพันธุ์ย่อย C. s. milneedwardsi พบในจีนตอนใต้ (สืบ, 2531) สายพันธุ์ย่อยนี้อาจพยได้ทางตอนบนสุดของประเทศ
สถานภาพ
       จากการประเมินประชากรของเลียงผาในประเทศ ปัจจุบันมีประชากรในธรรมชาติประมาณ 1,000-1,500 ตัว จากการจัดสถานภาพโดย IUCN (2004) เลียงผามีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) และจากการคุ้มครองโดยอนุสัญญา CITES (2005) เลียงผาถูกจัดอยู่ในบัญชี 1 (Appendix l)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น