วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัตว์ป่าสงวน




สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา
สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา แก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่าง ยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม 8 ชนิด รวมเป็น 15 ชนิด[1] ได้แก่
2.   แรด (Rhinoceros sondaicus)
3.   กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
4.   กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
5.   ควายป่า (Bubalus bubalis)
7.   สมัน หรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburki)
8.   เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ (Capricornis sumatraensis)
9.   กวางผา (Naemorhedus griseus)
12.  แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
13.  สมเสร็จ (Tapirus indicus)
14.  เก้งหม้อ (Muntiacus feai)
15.  พะยูน หรือหมูน้ำ (Dugong dugon)

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ละมั่ง



                     ละมั่ง
แต่เดิมมาคำว่าง "ละอง" มักใช้เรียกตัวผู้ขนาดใหญ่ ที่มีขนคอยาว สีค่อนข้างดำ ส่วนตัวเมีย มักเรียกว่า ละมั่ง บางคนมักเรียกรวมกันไปว่า ละองละมั่ง แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า "ละมั่ง" ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งชื่อ "ละมั่ง" นี้น่าจะมีต้นตอเรียกเพี้ยนมาจากชื่อเรียกในภาษาเขมรว่า "ล่าเมียง" ลักษณะของละองหรือละมั่ง เป็นกวางค่อนข้างขนาดใหญ่ ตัวเล็กและเพรียวบางกว่ากวางป่า ซึ่งเป็นกวางขนาด ใหญ่ที่สุดของไทย เส้นขนตามตัวละเอียดแน่นอย่างขนเก้ง สีน้ำตาลแกมเหลือง ช่วงคอยาว ใบหูกางใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้วตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีเส้นขนรอบคอหยาบยาว และสีขนตามตัวเข้มคล้ำกว่า ลูกเกิดใหม่จะ มีแต้มจุดขาวๆ ตามตัว เมื่อโตขึ้นจะจางหายไป ลักษณะเขาของละมั่งตัวผู้ มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากเขาของกวางไทยชนิดอื่นๆ เขากิ่งหน้าหรือกิ่งรับหมา ยาวยื่นโค้งทอดไปบนหน้าผาก ทำมุมแคบกันสันหน้าผาก ปลายกิ่งเรียวแหลม ดูคล้ายกวางมีเขาที่หน้าผาก จึงได้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Brow-antlered Deer" ส่วนตัวลำเขาทอดโค้งลาดไปทางด้านหลังช่วงปลายเขาวกงอกกลับมาด้านหน้าคล้ายกับตะขอ ส่วนโค้งของกิ่งรับหมากับลำตัวเขารับกันพอดีที่ตรงฐานเขาจนดูเหมือนเป็นลำเขาเดียวกัน ไม่ตั้งทำมุมกันอย่างเขากวางทั่วๆ ไป ช่วงปลายลำเขา จะบิดถ่างแยกจากกันปลายเขา ที่งอเป็นตะขอ จะแตกออกเป็นแขนงเขาแยกกัน คล้ายนิ้วมือหลายแขนง เขาบางคู้มีแขนงเขาปลายกิ่งมาก จะทำให้ปลายเขามีลักษณะแบนใหญ่ออกไป นอกจากนี้บริเวณช่วงต่อของกิ่งรับหมากับลำเขา จะมีแขนงเขายื่นขึ้นมาคล้ายนิ้วมือข้างละ 2-3 กิ่งอีกด้วย ละมั่งพันธุ์ไทย จำแนกเป็นชนิดย่อย Cervus eldi siamensis Lydekker, 1915 มีลักษณะปลายลำเขา แบนใหญ่ แตกเป็นแขนงเล็กๆ หลายแขนงคล้ายมือ และบริเวณรอยต่อกิ่งรับหมากับลำเขามีแขนงเขาเล็กๆ ยื่นขึ้นมา 2-3 กิ่ง ส่วนอีกชนิดพันธุ์หนึ่ง เป็นพันธ์พม่า ที่เรียกว่า "ทมิน" ในภาษาพม่า เป็นชนิดย่อย Cervus eldi thamin Thomas,1918 มีลักษณะสีขนตามลำตัวเข้มกว่าพันธุ์ไทย ปลายลำเขาค่อนข้าง มีแขนงเขา น้อยกว่า และส่วนใหญ่จะไม่มีแขนงเยายื่นขึ้นมาบริเวณลำตัวเขา ละมั่งทั้ง 2 ชนิดมีพบในประเทศไทยทั้งคู่ ขนาดของละมั่งในประเทศไทย ขนาดตัว 1.5-1.7 เมตร หางยาว 0.22-0.25 เมตร ส่วนสูงที่ช่วงไหล่ 1.2-1.3 เมตร ใบหูยาว 0.15-0.17 เมตร น้ำหนัก 95-150 กก.
ลักษณะทั่วไป
     ในภาษาพม่าเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า "ทมิน" มีสีขนตามตัวเข้มกว่าพันธุ์ไทย ปลายลำเขาค่อนข้างมีแขนงเขาน้อยกว่า และส่วนใหญ่จะไม่มีแขนงเขายื่นขึ้นมาบริเวณตัวลำเขา
ถิ่นอาศัย, อาหาร
     เขตการกระจายพันธุ์ของละมั่ง มีพบในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำของประเทศจีน ไม่พบแพร่กระจายลงทางใต้ แถบภาคใต้ของไทย ตลอดจนแหลมมลายู
     นิสัยการกินอาหารของละมั่งคล้ายกับพวกวัว ควาย ปกติชอบกินหญ้าและลูกไม้ต่าง ๆ ตามพื้นทุ่งโล่งหรือป่าโปร่ง ไม่ค่อยชอบกินใบไม้นัก
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     ความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของละมั่ง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในอดีตครั้งยังมีละมั่งชุกชุมทั่วไป มีรายงานพบฝูงละมั่งขนาดใหญ่มีจำนวนถึงประมาณ 50 ตัว แต่ปัจจุบันเนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป และจำนวนประชากรละมั่งลดน้อยลงมาก จึงพบแต่ละมั่งอยู่ตัวเดียวหรือฝูงเล็ก ๆ โดยทั่วไปชอบอาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่งหรือป่าทุ่งใกล้ ๆ หนองน้ำ ตอนกลางวันที่อากาศร้อนละมั่งจะหลบร้อนไปอยู่ตามใต้ร่มไม้ชายป่า ถ้าเป็นตัวผู้ขนาดใหญ่ซึ่งขี้ร้อนกว่า มักจะลงนอนแช่ปลักโคลนตามหนองน้ำอย่างพวกควาย ปกติไม่ชอบอาศัยอยู่ตามป่ารกทึบ โดยเฉพาะตัวผู้ เนื่องจากเขาบนหัวมีกิ่งปลายแหลมยื่นมาข้างหน้า อีกทั้งปลายลำเขาที่โค้งงอมาด้านหน้า และแตกปลายออกเป็นแขนงกิ่งเล็ก ๆ ทำให้เวลาเข้าป่ารกทึบ กิ่งและแขนงเขาจะไปขัดเกี่ยวกิ่งไม้และเถาวัลย์ต่าง ๆ คาดว่าด้วยสาเหตุนี้ จึงไม่พบละมั่งตามป่าทางภาคใต้และมาเลเซีย ซึ่งสภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดิบทึบไม่เหมาะสมเป็นที่อยู่อาศัยของละมั่ง
     ฤดูผสมพันธุ์ของละมั่งในธรรมชาติ พบอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ส่วนละมั่งที่เพาะเลี้ยงอยู่ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ มักจะไม่มีฤดูผสมพันธุ์แน่นอน แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน ระยะตั้งท้องนาน 240-244 วัน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกแรกเกิดจะมีลายจุดสีขาว ๆ ตามตัว โตขึ้นจะค่อย ๆ จางหายไป แต่ตัวเมียบางตัวจะยังคงมีจุดจาง ๆ นี้ให้เห็นจนโต วัยเจริญพันธุ์ของละมั่งตัวผู้อายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป ส่วนตัวเมียประมาณ 2 ปี ขึ้นไป
สถานที่ชม
      สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

พะยูน


               พะยูน Dugong
ชื่อท้องถิ่น
:
พะยูน, หมูน้ำ, ดุหยง
รูปร่าง/ลักษณะ
:
พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ รูปร่างคล้ายปลาโลมาแต่อ้วนป่องกว่าเล็กน้อย ผิวหนังเรียบลื่นสีเทา แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐและมีด่างขาว ขาหน้าคล้ายใบพายใช้สำหรับการช่วยบังคับทิศทางหรือใช้เดินบนพื้นทะเล ขาหลังลดรูปจนหายไปหมดเหลือเพียงกระดูกชิ้นเล็กๆอยู่ภายในลำตัว ส่วนท้ายเป็นครีบสองแฉกวางแนวระนาบคล้ายหางโลมาใช้โบกขึ้นลงเพื่อการเคลื่อน ที่ไปข้างหน้า พะยูนต้องหายใจด้วยปอดเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ รูจมูกอยู่ด้านบนเพื่อให้ขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้โดยไม่ต้องโผล่ส่วนอื่น ขึ้นมาด้วย เมื่อดำน้ำจะมีแผ่นหนังมาปิดปากรูไว้เพื่อกันน้ำเข้า ปากใหญ่ มีขนแข็งๆ ขึ้นเป็นจำนวนมากสำหรับการขุดหรือไถไปตามพื้นทะเลเพื่อกินหญ้าทะเล คาดว่าบรรพบุรุษของพะยูนเคยอาศัยอยู่บนบก แต่เริ่มมีวิวัฒนาการลงไปอาศัยอยู่ในน้ำตั้งแต่เมื่อประมาณ 60 ล้านปีก่อน ทำให้พะยูนมีการวิวัฒนาการรูปร่างให้เหมาะกับการอาศัยอยู่ในน้ำ พะยูนจะมีรูปร่างภายนอกคล้ายโลมาแต่พะยูนกลับมีวิวัฒนาการมาสายเดียวกับช้าง ลักษณะร่วมกับช้างที่เด่นชัดอย่างหนึ่งคือ มีเต้านมอยู่บริเวณขาหน้าเหมือนกัน พะยูนอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเท่านั้น พบในเขตแนวชายฝั่งด้าน ตะวันออกของชายฝั่งทวีปแอฟริกาเลียบชายฝั่งย่านเปอร์เซีย อินเดีย ไทย ชายฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย พะยูนส่วนใหญ่ชอบอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะบริเวณปากแม่ น้ำที่มีแหล่งหญ้าทะเล พะยูนหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อน้ำขึ้นพะยูนจะรวมกลุ่มกันเข้ามากินหญ้าทะเลที่ขึ้นเป็นแนวอยู่บริเวณ น้ำตื้น จนกระทั่งน้ำเริ่มลงพะยูนก็จะกลับไปหลบอยู่บริเวณร่องน้ำใกล้เคียงและรอที่ จะกลับเข้ามาเมื่อน้ำขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หญ้าทะเลชนิดที่พะยูนชอบกินได้แก่หญ้าใบมะขาม (Halophila ovalis) แม้จะกินหญ้าเป็นอาหารหลักแต่พะยูนก็กินสัตว์ขนาดเล็กๆ ที่อยู่ตามพื้นในแนวหญ้าทะเลเช่นปลิงทะเลเป็นอาหารด้วยเช่นกัน แม่พะยูนตั้งท้องเป็นเวลาประมาณ 13 เดือน ออกลูกครั้งละตัว แม่พะยูนจะเลี้ยงดูลูกอ่อนประมาณปีครึ่ง ระหว่างนี้พะยูนจะยังไม่มีลูกใหม่ไป 2-3 ปี ลูกพะยูนขนาดยาวประมาณไม่เกิน 1 เมตรจะว่ายเกาะติดบริเวณด้านข้างของแม่เกือบตลอดเวลา จากการสำรวจศึกษาโดยนักวิชาการของกรมป่าไม้ พบว่าบ่อยครั้งที่แม่พะยูนอยู่ร่วมกับพะยูนขนาดใหญ่อีกตัวหนึ่งที่ว่าย ตามอยู่ไม่ห่าง แต่พะยูนตัวนั้นจะเป็นพ่อหรือพี่เลี้ยงยังไม่ทราบแน่ชัด พะยูนมีอายุขัยประมาณ 70 ปี ตัวผู้จะสืบพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 9 ปีขึ้นไป ส่วนตัวเมียจะเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุมากกว่า 13 ปี ถึงแม้ว่าจะมีเขตกระจายพันธุ์กว้าง แต่ประชากรพะยูนทั่วโลกกลับมีจำนวนลดลงจนเกือบสูญพันธุ์เนื่องจากการล่าและ การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน ปัจจุบันยังคงมีเพียงบริเวณชายฝั่งออสเตรเลียเท่านั้นที่มีจำนวนประชากร พะยูนหลายหมื่นตัว ประเทศไทยเคยมีพะยูนอยู่อย่างมากมายทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ก็มีจำนวนลดลงเนื่องมาจากการล่า การเข้าไปติดในเครื่องมือประมง และการทำลายแหล่งหญ้าทะเล ปัจจุบันพบว่าพะยูนยังคงมีกระจายอยู่ตามชายฝั่งของไทยทั้งอันดามันและอ่าว ไทยแต่มีจำนวนน้อย ทางอ่าวไทย ยังคงพบอยู่บ้างที่ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา แต่กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดพบที่บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 100 ตัว ไอยูซีเอ็นประเมินว่าอยู่ภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ (A2bcd) ไซเตสจัดพะยูนในออสเตรเลียอยู่ในบัญชีหมายเลข 2 และจัดพะยูนนอกออสเตรเลียอยู่ในบัญชีหมายเลข 1 เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของไทย





ลักษณะทั่วไป
     ในภาษาพม่าเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า "ทมิน" มีสีขนตามตัวเข้มกว่าพันธุ์ไทย ปลายลำเขาค่อนข้างมีแขนงเขาน้อยกว่า และส่วนใหญ่จะไม่มีแขนงเขายื่นขึ้นมาบริเวณตัวลำเขา 
ถิ่นอาศัย, อาหาร
     เขตการกระจายพันธุ์ของละมั่ง มีพบในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำของประเทศจีน ไม่พบแพร่กระจายลงทางใต้ แถบภาคใต้ของไทย ตลอดจนแหลมมลายู
     นิสัยการกินอาหารของละมั่งคล้ายกับพวกวัว ควาย ปกติชอบกินหญ้าและลูกไม้ต่าง ๆ ตามพื้นทุ่งโล่งหรือป่าโปร่ง ไม่ค่อยชอบกินใบไม้นัก
สถานที่ชม
      สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

เก้งหม้อ



         เก้งหม้อ Muntiacus feai
ลักษณะ : เก้งหม้อมีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับเก้งธรรมดา ขนาดลำตัวไล่เลี่ยกัน เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม แต่เก้งหม้อจะมีสีลำตัวคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ด้านหลังสีออกน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีน้ำตาลแซมขาว ขาส่วนที่อยู่เหนือกีบจะมีสีดำ ด้านหน้าของขาหลังมีแถบขาวเห็นได้ชัดเจน บนหน้าผากจะมีเส้นสีดำอยู่ด้านในระหว่างเขา หางสั้นด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน
อุปนิสัย : เก้งหม้อชอบอาศัยอยู่เดี่ยวในป่าดงดิบตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ออกหากินในเวลากลางวันมากกว่าในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้ป่า ตกลูกครั้งละ 1 ตัว เวลาตั้งท้องนาน 6 เดือน
ที่อยู่อาศัย : ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธารน้ำไหลผ่าน
เขตแพร่กระจาย : เก้งหม้อมีเขตแพร่กระจายอยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเทือกเขาภูเก็ต ในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ในจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานีและพังงา
สถานภาพ : องค์การสวนสัตว์ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเก้งหม้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 ในปัจจุบันเก้งหม้อจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และองค์การ IUCN จัดเก้งหม้อให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศ เนื่องจากมีเขตแพร่กระจายจำกัด และที่อยู่อาศัยถูกทำลายหมดไปเพราะการตัดไม้ทำลายป่า การเก็บกักน้ำเหนือเขื่อนและการล่าเป็นอาหาร เก้งหม้อเป็นเนื้อที่นิยมรับประทานกันมาก