วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นกกระเรียน



     นกกระเรียน Grus antigone
ลักษณะ : เป็นนกขนาดใหญ่เมื่อยืนมีขนาดสูงราว 150 เซนติเมตร ส่วนหัวและคอไม่มีขนปกคลุม มีลักษณะเป็นปุ่มหยาบสีแดงยกเว้นบริเวณกระหม่อมสีเขียวอมเทา ในฤดูผสมพันธุ์มีสีแดงส้มสดขึ้นกว่าเดิม ขนลำตัวสีเทาจนถึงสีเทาแกมฟ้า มีกระจุกขนสีขาวห้อยคลุมส่วนหาง จะงอยปากสีออกเขียว แข้งและเท้าสีแดงหรือสีชมพูอมฟ้า นกอายุน้อยมีขนสีน้ำตาลทั่วตัว บนส่วนหัวและลำคอมีขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุม ในประเทศไทยเป็นนกกระเรียนชนิดย่อย Sharpii ซึ่งไม่มีวงแหวนสีขาวรอบลำคอ
อุปนิสัย : ออกหากินเป็นคู่และเป็นกลุ่มครอบครัว กินพวกสัตว์ เช่น แมลง สัตว์เลื้อยคลาน กบ เขียด หอย ปลา กุ้งและพวกพืช เมล็ดข้าวและยอดหญ้าอ่อน ทำรังวางไข่ในฤดูฝนราวเดือนมิถุนายน ปกติวางไข่จำนวน 2 ฟอง พ่อแม่นกจะเลี้ยงดูลูกอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 10 เดือน
ที่อยู่อาศัย : ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ และหนองบึงที่ใกล้ป่า
เขตแพร่กระจาย : นกกระเรียนชนิดย่อยนี้มีเขตแพร่กระจายจากแคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ไทย ตอนใต้ลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ถึงเมืองลูซุนประเทศฟิลิปปินส์ บางครั้งพลัดหลงไปถึงประเทศมาเลเซีย และยังมีประชากรอีกกลุ่มหนึ่ในรัฐควีนแลนด์ประเทศออสเตรเลีย
สถานภาพ : นกกระเรียนเคยพบอยู่ทั่วประเทศ ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2507 พบ 4 ตัว ที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี จากนั้นมีรายงานที่ไม่ยืนยันว่าพบนกกระเรียน 4 ตัว ลงหากินในทุ่งนาอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนมกราคม
พ.ศ.2528
สาเหตุของการใก้จะสูญพันธุ์ : นกกระเรียนจะจับคู่กันอยู่ชั่วชีวิต มีความผูกพันธ์กับคู่สูงมาก เมื่อคู่ของมันถูกยิงเสียชวิตหรือบาดเจ็บ นกตัวที่เหลือจะไม่ยอมไป จนมันถูกยิงเสียชีวิตไปด้วย การทำลายแหล่งหากินและทำรังวางไข่โดยการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นนา ข้าวในหลายบริเวณ รวมทั้งการล่านกเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้นกกระเรียนหมดสิ้นไปจากประเทศไทย นอกจากนี้นกกระเรียนเป็นนกที่ขยายพันธุ์ได้น้อย ต้องใช้เวลาเกือบ 3 ปี ในการเจริญพันธุ์ โอกาศที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นตามธรรมชาติจึงมีน้อยมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น